10 ข้อที่ควรทำและ 10 ข้อที่ไม่ควรทำบน Google Play Store
บทความวันนี้ขอผ่อนคลายจากโค้ดกันบ้าง โดยเจ้าของบล็อกขอหยิบเจ้าแผ่นพับที่เจ้าของบล็อกได้จากงาน Google Developer Summit มาเขียนเป็นบทความให้ได้อ่านกันเล่นๆ
แผ่นพับที่ว่านี้จะเป็นการแนะนำ 10 วิธีที่ควรทำและ 10 วิธีที่ไม่ควรทำในการพัฒนาแอปแอนดรอยด์ขึ้น Google Play ซึ่งเจ้าของบล็อกคิดว่าเป็นเรื่องที่นักพัฒนาควรจะรู้ติดตัวไว้บ้าง เวลาที่ทำแอปก็ให้ใช้คำแนะนำเหล่านี้เป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้แอปที่ออกมานั้นประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
- Optimize design and navigation for Android.
- Utilize multi-screen opportunities.
- Use Google+ login to obtain more user metrics.
- Minimize the size of your APK to ensure downloads.
- Make sure that your server is robust and scalable.
- Run Alpha / Beta tests before launch.
- Test your app icon design.
- Elaborate the detail page with movies and screen captures.
- Consider user reviews.
- Deepen engagement with users.
- Don’t infringe on the intellectual property right of others.
- Don’t use sexually explicit or erotic content, images, titles and descriptions.
- Don’t use confidential information without user’s permission.
- Don’t link to other app stores.
- Don’t bypass Google Wallet for in-app purchases.
- Don’t use irrelevant, misleading, or excessive keywords in apps descriptions, titles or metadata.
- Don’t use other product’s branding or names at the start of your app title without permission.
- Don’t engage in fraudulent install or review campaigns by manipulating ratings or incentives.
- Don’t contain false or misleading information.
- Don’t abuse the Google Play logo.
สำหรับ 10 DOs & 10 DON’Ts นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นสามประเภทด้วยกันคือ Design, Development และ Distribution ซึ่งถ้าจำกันได้ มันคือหัวข้อเมนูใน Android Developer นั่นเอง โดยจะเอาแต่ละข้อของ DOs & DON’Ts มาเรียงตามลำดับความสำคัญเพื่อให้ดูเป็นขั้นเป็นตอน
Design
DO — 1. Optimize design and navigation for Android.
พยายามปรับปรุงดีไซน์ภายในตัวแอปอยู่เสมอ เช่น ปรับให้เป็น Material Design เป็นต้น เพื่อให้แอปมีหน้าตารูปแบบสวยงามตามสมัย
DO — 2. Utilize multi-screen opportunities.
ทำแอปให้รองรับกับหน้าจออุปกรณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้แอปสามารถทำงานได้บนอุปกรณ์ทุกแบบ
DON’T — 1. Don’t infringe on the intellectual property right of others.
อย่าละเมิดสิทธิหรือทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หรือก็คือแอปไม่ควรมีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
DON’T — 2. Don’t use sexually explicit or erotic content, images, titles and descriptions.
อย่าใช้เนื้อหาเกี่ยวกับทางเพศหรือลามก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาภายในแอป รูปภาพ หัวข้อ หรือคำอธิบายในหน้าดาวน์โหลดแอป
Development
DO — 3. Use Google+ login to obtain more user metrics.
ควรใช้ Google+ ในการล็อกอินระบบภายในแอปเพื่อดึงข้อมูลของผู้ใช้งาน (แต่นิยม Facebook มากกว่า)
DO — 4. Minimize the size of your APK to ensure downloads.
พยายามทำไฟล์ APK ให้มีขนาดเล็กที่สุด เพื่อที่ผู้ใช้จะได้ดาวน์โหลดได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกลัวกินพื้นที่เยอะ หรือใช้เวลาดาวน์โหลดนาน เพราะจะทำให้ผู้ใช้ไม่อยากดาวน์โหลดแอปได้
DO — 5. Make sure that your server is robust and scalable.
ต้องมั่นใจว่าเซิฟเวอร์ที่ใช้เชื่อมต่อกับแอปนั้นดีพอ รองรับผู้ใช้งานได้ตลอดเวลา และสามารถขยายได้ง่ายเมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น
DO — 6. Run Alpha / Beta tests before launch.
ควรปล่อยให้ดาวน์โหลดแบบ Alpha หรือ Beta เพื่อทดสอบการทำงาน ก่อนที่จะปล่อยให้ดาวน์โหลดใช้งานจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด
DON’T — 3. Don’t use confidential information without user’s permission.
อย่าแอบใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
DON’T — 4. Don’t link to other app stores.
อย่าทำแอปให้ไปเปิด App Store ตัวอื่นๆนอกเหนือจาก Google Play เพื่อดาวน์โหลดแอป (อันนี้เป็นข้อกำหนดของ Google Play เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ไปโหลดแอปจาก 3rd Party App Store)
DON’T — 5. Don’t bypass Google Wallet for in-app purchases.
สำหรับระบบ IAP อย่าเรียกใช้งาน Google Wallet โดยตรง ให้เรียกผ่าน In-App Billing API ที่มีให้ใช้งาน
Distribution
DO — 7. Test your app icon design.
ออกแบบไอคอนแอปให้เหมาะสมและเด่นชัดเมื่ออยู่บน Google Play เพื่อที่จะได้สะดุดตาผู้ใช้งาน
DO — 8. Elaborate the detail page with movies and screen captures.
ควรอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับตัวแอปให้ละเอียดด้วยภาพหน้าจอเวลาใช้งานและวีดีโอบน Google Play เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูแล้วเข้าใจเกี่ยวกับแอปนั้นๆได้ทันที โดยไม่ต้องกดดาวน์โหลดก่อน
DO — 9. Consider user reviews.
ความคิดเห็นของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นควรใส่ใจมัน เพราะมันคือ Feedback ที่ดีที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาแอปได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
DO — 10. Deepen engagement with users.
พยายามทำให้ผู้ใช้กลับมาใช้งานแอปบ่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ใช้ดาวน์โหลดแอปเยอะก็ตาม แต่ถ้าตัวแอปไม่น่าสนใจและไม่ทำให้กลับมาเปิดใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่เรื่องดีซักเท่าไร ดังนั้นควรหาทางทำให้ผู้ใช้กลับมาใช้งานแอปบ่อยๆ
DON’T — 6. Don’t use irrelevant, misleading, or excessive keywords in apps descriptions, titles or metadata.
อย่าใช้ข้อมูลหรือคีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้อง/ทำให้เข้าใจผิดในคำอธิบายเกี่ยวกับตัวแอป รวมไปถึงชื่อของแอปและข้อมูลที่ระบุในแอปนั้นๆ
DON’T — 7. Don’t use other product’s branding or names at the start of your app title without permission.
ห้ามใช้ชื่อแอปที่มีชื่อแบรนด์ของคนอื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ในนั้น ถ้าจะใช้ก็ต้องขออนุญาตจากเจ้าของชื่อแบรนด์นั้นๆก่อน
DON’T — 8. Don’t engage in fraudulent install or review campaigns by manipulating ratings or incentives.
อย่าหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งแอปหรือแสดงความคิดเห็นโดยใช้ผลประโยชน์มาหลอกล่อ เพื่อไม่ให้เกิดการปั้มยอดดาวน์โหลดหรือยอดรีวิวมากเกินที่ควรจะเป็น
DON’T — 9. Don’t contain false or misleading information.
ห้ามใส่ข้อมูลที่ผิดหรือทำให้ผู้ใช้เกิดการเข้าใจผิด
DON’T — 10. Don’t abuse the Google Play logo.
ห้ามนำโลโก้ Google Play ไปใช้งานในทางที่ผิด
ทั้ง 10 ข้อที่ควรทำและไม่ควรทำนี้เป็นคำแนะนำจากทาง Google Play ที่อยากให้นักพัฒนาทำตามเพื่อที่ว่าจะได้เผยแพร่แอปอยู่บน Google Play ได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องเสี่ยงกับการถูกลบทิ้งหรือว่าถูกแบน Account และบางข้อก็จะเห็นว่าเป็นเหตุผลในเรื่อง Policy ของทาง Google Play ควรทำตามอย่างเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นทางที่ดีก็ควรตรวจสอบทั้ง 20 ข้อนี้ให้ดีๆก่อนจะส่งแอปขึ้น Google Play นะครับ