เพื่อให้แอปสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมกับการทำงานของระบบแอนดรอยด์ นอกเหนือจากการทำงานทำงานของ App Component และ Platform API ต่าง ๆ แล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่นักพัฒนาไม่ควรมองข้ามเลยก็คือหลักการทำงานของ Task และ Back Stack บนแอนดรอยด์

เพราะถ้าไม่เข้าใจการทำงานของ Task และ Back Stack ตั้งแต่แรก ก็อาจจะทำให้แอปทำงานผิดพลาดในบางเงื่อนไข และเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากการใช้งานของผู้ใช้โดยที่เราไม่ได้คาดคิดไว้ตั้งแต่แรก

Task และ Back Stack สำคัญต่อนักพัฒนาแอนดรอยด์อย่างไร ?

แอปทุกตัวในแอนดรอยด์จะมีการทำงานของ Task และ Back Stack อยู่ด้วยเสมอ และจะสัมพันธ์กับการทำงานของ App Component อย่าง Activity (และรวมไปถึง Fragment ด้วย) ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของ Lifecycle หรือ Navigation ก็ตาม

ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วนักพัฒนาไม่จำเป็นต้องยุ่งกับการทำงานของ Task และ Back Stack แต่ก็อาจจะต้องเข้าไปกำหนดรูปแบบการทำงานของ Task และ Back Stack เพื่อให้แอปทำงานตรงกับที่ต้องการบ้างในบางครั้ง ถ้าไม่เข้าใจตรงจุดนี้ก็อาจจะทำให้แอปทำงานไม่ตรงกับที่ตั้งใจไว้ก็เป็นได้

ดังนั้นถ้าเข้าใจการทำงานของ Task และ Back Stack ที่เกิดขึ้นในแอปบนแอนดรอยด์ ก็จะช่วยนักพัฒนารับมือกับการทำงานของแอปในหลากหลายสถานการณ์ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจการทำงานของ Task และ Back Stack มากขึ้น แนะนำให้อ่านบทความทั้งหมดนี้ตามลำดับ

บทความในชุดนี้